เมนู

ทุกกรปัญหา ที่ 19


อถโข นาคเสโน

ฝ่ายพระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราช-
สมภาร บพิตรจงทราบพระทัยเถิด แต่บพิตรทรงถามซึ่งอรรถปัญหามานี้ เวลาก็สมควรแล้ว
ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ ผู้เป็นปิ่นกษัตริย์จึงตรัสว่า อาม เออ โยมนี้รู้ว่าเวลาล่วง
เข้ามัชฌิมยาม คนทั้งหลายตามประทีปไว้สว่างอยู่ในกาลบัดนี้
ครั้งนี้เจ้าพนักงานก็นำซึ่งผ้าสี่พับ สำหรับพระมหากษัตราธิราชจะบูชาธรรมถวายพระ
นาคเสนนั้น มาจัดแจงตระเตรียมไว้
ฝ่ายว่าโยนกข้าหลวงทั้งปวงก็กราบทูลพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ว่า ขอพระราชทาน
พระภิกษุนี้สมควรที่จะถามปัญหา ปณฺฑิโต ท่านมีปัญญาเป็นแท้แล้ว
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์จึงตรัสว่า อาม ภเณ เออดูกรพนายทั้งหลาย พระ
ภิกษุองค์นี้มีปัญญา แม้ว่าผู้ใดส้องเสพย์อาจารย์อันมีปรีชาญาณเห็นปานดังภิกษุนี้ ผู้นั้นอาจ
สามารถที่จะรู้ธรรมวิเศษเร็วพลันไม่ช้าไม่นาน เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัส
สรรเสริญดังนั้นแล้ว ก็มีน้ำพระทัยผ่องแผ้วในปัญหาพยากรณ์ของพระนาคเสน จึงบริจาค
ผ้ากัมพลราคาแสนหนึ่งถวายพระนาคเสน แล้วมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้
โยมอนุญาตปวารณาเป็นกัปปิยการกไว้ แม้พระผู้เป็นเจ้าจะปรารถนาซึ่งวัตถุอันมีในพระราช-
เคหาของโยม โยมจะถวายให้ในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถวายพระพรว่า บพิตรพระราชสมภาร อาตมาภาพนี้เลี้ยง
ชีวิตพอสมควรอยู่แล้ว
พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์จึงตรัสว่า โยมทราบแล้วว่าพระผู้เป็นเจ้าเลี้ยงชีวิตพอสมควร
แต่ทว่านิมนต์รักษาไว้ซึ่งตัวของพระผู้เป็นเจ้ากับทั้งโยมนี้
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถามว่า ซึ่งมหาบพิตรตรัสว่าให้อาตมารักษาไว้ซึ่งอาตมา
นี้อย่างไร ประการหนึ่งให้รักษาตัวมหาบพิตรไว้ด้วยนั้น จะให้รักษาประการใด
พระเจ้ามิลิท์ปิ่นกษัตริย์จึงตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คำปรับปวาทจะล่วงเข้า
มาครหาว่า พระนาคเสนมีปัญญาฉลาดอาจสามารถที่จะให้พระยามิลินท์ยินดีแล แต่ทว่าเสียที
กระทำหาได้ลาภสักการะไม่ เหตุดังนี้โยมจึงว่าให้รักษาซึ่งตัวของพระผู้เป็นเจ้าไว้ ประการหนึ่ง

ให้รักษาซึ่งตัวโยมนี้เล่าด้วยคำคนจะล่วงเข้ามาว่า สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ยินดีเสื่อมใส ปัญหา
พยากรณ์ของพระนาคเสนแล้ว หาถวายไทยทานไม่ เหตุฉะนี้จงได้โปรดรับซึ่งนิตยภัต รับซึ่งคำ
ปวารณาของโยมก่อน นะพระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ถ้า
กระนั้นก็ตามพระราชอัชฌาสัยของบพิตรพระราชสมภาร
ฝ่ายพระเจ้ามิลินท์จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ
สีโห อันว่าพระยาสีหราชเป็นเจ้าแห่งมฤคชาติ ถึงมาตรแม้วส่าจะอยู่ในกรงทอง ย่อมจะมี
หน้ามองออกไปนอกกรง มีความปรารถนาที่จะออกไปข้างภายนอก ยถา ฉันใด ได้แก่ตัว
ของโยมนี้ อยู่ภายในเรือนทองก็จริงอยู่แล แต่ทว่าปรารถนาจะไปภายนอก เหมือนหนึ่งพระยา
มฤคราชนั้น ครั้นโยมจะละราชนิเวศไปทรงบรรพชาเล่า ข้าศึกนั้นก็จะติดตามฆ่าตี ชีวิตโยม
ก็มิได้ตั้งอยู่จิรังกาลนานไป เหตุฉะนี้โยมจึงไม่บรรพชา แต่ใจของโยมนี้ปรารถนาจะใคร่บรรพชา
อถ โข นาคเสโน ฝ่ายพระนาคเสนก็ถวายพระพรลาลุกจากอาสน์ลีลาศไปสู่สังฆาราม
อันเป็นที่อยู่ของอาตมาในกาลนั้น
เมื่อพระนาคเสนคมนาการไปแล้ว สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ก็มาดำริใน
พระทัยว่า วันนี้อาตมาถามอรรถปัญหาแก่พระนาคเสนเป็นปัญหาเท่านี้
ส่วนพระนาคเสนว่าพระผู้เป็นเจ้าก็ดำริว่า วันนี้สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี
ตรัสถามปัญหาแก่อาตมาเป็นปัญหาเท่านี้ อาตมานี้วิสัชนาเท่านี้ ตกว่าพระนาคเสนกับพระยา
มิลินท์ถ้อยทีถ้อยจำไว้ด้วยกันทั้งสองฝ่าย
ตสฺสา รตฺติยา อจฺจเยน ปน ครั้นแสงทองอรุณรุ่งรางสว่างฟ้า ฝ่ายพระนาคเสนก็
นุ่งสบงทรงจีวร พระกรจับบาตรแล้วลีลาศเข้าสู่ราชนิเวศ ครั้นถึง พระผู้เป็นเจ้าจึงนั่งเหนือ
ปัญญัตตาอาสน์อันตกแต่งตั้งไว้
ส่วนสมเด็จพระเจ้ามิลินท์บรมกษัตริย์ก็กระทำปรนนิบัติให้ฉันจังหันสำเร็จแล้ว พระเจ้า
มิลินท์ปิ่นกษัตริย์ ก็เข้าไปสู่สำนักพระนาคเสน ถวายนมัสการแล้วจึงตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ แต่โยมมารำพึงถึงอรรถปัญหาที่ถามพระผู้เป็นเจ้านั้น โสมนสฺสปฺปตฺโต
ให้บังเกิดโสมนัสยินดีปรีดานี้นักหนา โยมมิได้หยั่งลงสู่นิทรารมณ์สิ้นราตรียังรุ่ง รำพึงไปว่า
ได้ถามอรรถปัญหาเท่านี้ พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาอย่างนั้น ๆ โยมก็จำได้สิ้น
ส่วนพระนาคเสนก็ถวายพระพรแก่สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ว่า มหาราช ดูรานะ

มหาบพิตรพระราชสมภาร อาตมาเล่าก็เหมือนกัน คืนนี้กลับไปสู่อาราม คิดถึงปัญหาที่บพิตร
ถาม มีความยินดี รู้ว่าปัญหาที่บพิตรถามเท่านี้ ยิ่งคิดแล้วก็ยิ่งโสมนัสปรีดา
เต อุโภ ปณฺฑิตา ฝ่ายว่านักปราชญ์ทั้งสองถ้อยทีถ้อยมีความโสมนัสปรีดา ถ้อยที
ถ้อยมีสุนทรกถาเจรจาแก่กันไปมาในกาลนั้น
ทุกกรปัญหา คำรบ 19 ในสัตตมวรรคจบเท่านี้
จบปุจฉาวิสัชนามิลินทปัญหา
ในมิลินทปัญหานี้ มี 108* ปัญหา พระอาจารย์เจ้ากล่าวยกขึ้นพรรณนาไว้ในลังกาทวีป

* ตรวจดู ตามปัญหามีเพียง 84 เท่านั้น

โคตมีวัตถทานปัญหา ที่ 3*


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสนผู้มีปรีชาญาณ สมเด็จพระศาสดาจารย์มีพระพุทธฎีกาตรัส
แก่พระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อนำคู่ผ้าสาฎกมาถวายแก่พระองค์ ว่าให้ถวายแก่พระสงฆ์เถิด
จะได้ผลอันเลิศ ชื่อว่าได้บูชาแก่พระตถาคตและได้บูชาแก่สังฆรัตนะทั้ง 2 ประการ นี่แหละ
คำสมเด็จพระศาสดาจารย์ตรัสไว้ ถ้าจริงอย่างนั้นแล้ว พระสังฆรัตนะจะมิมีผลเลิศมีผลหนัก
เป็นครูเป็นอาจารย์และเป็นทักขิไณยบุคคลยิ่งกว่าพระพุทธเจ้าหรือประการใด และคู่ผ้าสาฎกนี้
ไซร้พระมหาปชาบดีโคตมีผู้เป็นพระเจ้าแม่น้ำได้เพาะฝ้ายและสะสางดีดประชีกรดทอเป็นผ้าสาฎก
ด้วยพระหัตถ์เองแล้วและนำมาถวายแก่พระองค์ ถ้าหากว่าพระองค์ประเสริฐเลิศดีกว่า
สังฆรัตนะแล้ว จะมิทรงอนุญาตให้พระมหาปชาบดีถวายแก่พระองค์หรือ นี่พระองค์คงจะทรง
เห็นว่าสังฆรัตนะประเสริฐว่าพระองค์ จึงได้ตรัสแก่พระมหาปชาบดีให้ถวายแก่สงฆ์ พระผู้
เป็นเจ้าจงวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะพบิตรพระราชสมภาร ซึ่งสมเด็จ
พระศาสดาจารย์มีพระพุทธฎีกาแก่พระมหาปชาบดีให้ถวายคู่ผ้าสาฎกแก่สงฆ์นั้น ใช่พระ
องค์จะทรงเห็นว่าถวายแก่สงฆ์มีผลดีกว่าถวายพระองค์หามิได้ซึ่งมีพระพุทธฎีกาตรัสให้ถวายแก่
สงฆ์นั้นไซร้ ด้วยทรงพิจารณาเห็นประโยชน์ในอนาคตกาลว่า ถ้าพระตถาคตเสด็จนิพ-
พานล่วงลับไปแล้ว มหาชนคนทั้งปวงที่เกิดมาสุดท้ายภายหลัง จะได้เคารพนบนอบแก่พระสงฆ์
พระพุทธองค์ประสงค์จะยกย่องคุณแห่งพระสงฆ์ให้ปรากฏต่อไป จึงได้ตรัสให้พระมหาปชาบดี
ถวายคู่ผ้าสาฎกแก่สงฆ์ด้วยประการฉะนี้ ยถา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร
อาตมาจะอุปมาให้ฟัง เปรียบประดุจดังบิดายังมีชีวิตอยู่ บุตรคนใดที่มีคุณวิเศษสมควรจะ
ยกย่อง ก็ยกย่องไว้ในที่ประชุมชน เป็นต้นว่า ในสำนักแห่งพระราชมหากษัตริย์ ณ ท่ามกลาง
หมู่อำมาตย์ราชภัฏนายประตูและหมู่โยธา ด้วยประสงค์ว่าต่อไปภายหน้า คนทั้งหลายจะได้
เคารพยำเกรงบุตรของตน ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ก็เหมือนสมเด็จพระผู้ทรงพระภาคทรงพิจารณา
เห็นประโยชน์ในอนาคตกาล จึงได้ทรงประกาศยกย่องคุณแห่งพระสงฆ์ไว้ให้ปรากฏ เพื่อปัจฉิมา
ชนตาชนในภายหลังจะได้กระทำสักกาบูชา ใช่ว่าพระสังฆรัตนะจะประเสริฐเลิศกว่าพระมหา

*ปัญหาที่ไม่ทราบว่าอยู่ในวรรคไหน ปัญหาที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 และต่อไปก็ไม่ปรากฏ แต่บอกไว้ว่า
ปัญหาที่ 3 ฉบับที่แปลลงในหนังสือธรรมจักษุยกไปไว้ในพวกเมณฑกปัญหา ต่อ ทวินนัง พุทธาบัง โลกานุป
ปัชชนปัญหาที่ 8 ในฉัฏฐวรรค แต่ฉบับที่พิมพ์ในสมุดเล่มนี้คงไว้ตามฉบับภาษาบาลี